แจ้งลบ ความเห็น
1.ในการลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษายกระดับคุณภาพการศึกษา
ขอเสนอ
1. เด็กที่มีโรงเรียนในชนบทควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีประจำหมู่บ้านอยู่แล้ว ควรได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพที่เท่ากันกับ โรงเรียนในเมือง โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเอกชน ฯลฯ คือยกเลิกการคิดที่จะยุบ โรงเรียน ควบรวม เปลืองงบประมาณแผ่นดิน
ควรจะเพิ่มจำนวนครูให้เพียงพอทุกๆโรงเรียน ดูอัตรากำลังครูอย่าไปดูที่จำนวนนักเรียน โรงเรียนนั้นไม่ควรถูกยุบหรือควบรวมใดๆ มีแต่จะต้องทุมงบประมาณให้พัฒนาโรงเรียนนั้นๆให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น แม้นักเรียนคนหนึ่งพวกเขาก็จำเป็นที่ได้รับการพัฒนา
พวกเขาควรได้สิทธิ์นั้นๆ เพราะการพัฒนาคนหนึ่งคนให้มีคุณภาพเขาคือกำลังหนึ่งที่จะพัฒนาประเทศชาติ ดีกว่าเขาถูกขับออกจากระบบแล้วไปสร้างปัญหาให้กับประเทศชาติภายหลัง
2.เปลืองงบประมาณแผ่นดิน การลงทุนกับการศึกษาไม่มีคำว่าขาดทุน ควรส่งเสริมการทำงานของบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ อย่าขาดตอน ให้มีความต่อเนื่อง ติดตามผล ตามสภาพจริง และควรรับข้อมูลที่เป็นจริง
3.เรื่องการประเมินวิทยฐานะของครูนั้นเมื่อถึงเวลากำหนดปีการทำงาน ควรให้เขาได้เลื่อนวิทยฐานะนั้นๆ งดการเตรียมเอกสารต่างๆ
เพราะงานครูมันเยอะอยู่แล้ว ทั้งสอนทั้งงานพิเศษ แถมในช่วงโควิตครูเขาไม่ได้สบาย
4.งบที่เปลืองจริงๆคืองบที่เกณท์คนไปเป็นคนเลี้ยงไก่ ซักเสื้อ ตัดหญ้าในบ้านพัก ควรยกเลิกสิ่งเหล่านี้ให้ลดลง แล้วเปลี่ยนสถานที่พวกเขาไปอยู่ชายแดน เรื่องภายในประเทศปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประชาชน และเอางบจากสิ่งเหล่านี้มาสนับสนุนการศึกษา
5.ถ้าพวกคุณอยากได้สภาพจริงของชีวิตครู ให้พวกคุณมาแยี่ยมผม พวกคุณก็จะได้ข้อมูลที่แท้จริงประมาณหนึ่ง
6.เรื่องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ คุณภาพไม่อาจกำหนดได้ด้วยตัวเลข คะแนนสอบ หรือหรือรายงานต่าง ๆ ที่โรงเรียนแทบทุกโรงเรียนได้รับคำสั่งให้ทำ คุณภาพในสายตาของครูและนักเรียนที่ต้องการเห็นคือ ให้ครูได้มีเวลาอยู่กับนักเรียนจริง ๆ ได้จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ มีเวลาวางแผน จัดทำสื่อ นักเรียนได้รับโอกาส เข้าถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมจริง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่าจะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อต้นสังกัด กระทรวง เขตพื้นที่ ตลอดจนผู้บริหาร ตระหนักและดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม หากมีเพียงครูที่ทั้งทำหน้าที่สอนและต้องรับภาระการจัดทำเอกสารต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น ทำให้เวลาที่ควรจะเป็นของผู้เรียนถูกลดทอนไป ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้อย่างเต็มที่ ผลก็จะเป็นดังในปัจจุบัน.. ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีชั่วโมงในการเรียนมากเป็นอันดับต้น ๆ ผลที่เกิดกับผู้เรียนนั้นกลับสวนทางกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการพิจารณาและแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ตรงจุด
7. เรื่องการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของระบบการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย นิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่า หากจะปฏิบัติให้ได้จริง ควรมีการเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ทั้งผู้เรียน ครู ผู้บริหาร ชุมชน ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้จริง โดยที่ไม่มีใครต้องกังวลว่าหากมีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลต่าง ๆ จะส่งผลต่อการทำงาน ระบบที่ดีควรวิจารณ์ในหลักเหตุผลได้ ระบบการศึกษาจะดีได้ ส่วนหนึ่งก็คือโครงสร้างภายในดี ไม่ผุกร่อน ยกตัวอย่างเช่น การให้บุคคลากรทางการศึกษา สายการสอน ปฏิบัติหน้าที่การเงิน หรือพัสดุ ความจริงแล้วควรมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะปฏิบัติหน้าที่นี้โดยตรง เพราะเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณแผ่นดินในการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนนั้น ๆ และยังเกิดความถูกต้องคุ้มค่าคุณกด้วย
8. การลดความเหลื่อมล้ำของการศึกษา ในประเด็นนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการศึกษาไทยเกิดความเหลื่อมล้ำอย่างชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะทำอย่างไรให้ทุกโรงเรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงทั้งงบประมาณในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น รร.ขนาดใฟญ่ มีนักเรียนมาก งบประมาณรายหัวมาก สามารถพัฒนาอาคาร สถานที่ อุปกรณ์ สื่อ เพื่อจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่กลับกันโรงเรียนขนาดเล็ก นักเรียนน้อยก็ได้รับงบประมาณน้อย และมีแต่จะน้อยลงตามอัตราการเกิดของประชากรของประเทศ ซึ่งไม่สามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่จำกัดในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ขาดแคน รร.ประกาศรับสมัครครูในเงินเดือนที่รร.หาเอง ซึ่งอยู่ในอัตราไม่กี่พันบาทดังเห็นในข่าว รัฐมีหน้าที่ต้องจัดการอุดรอยรั่วทางการศึกษา ไม่ใช่มีคำสั่งให้งดการประกาศรับสมัครนั้น แล้วปัญหาที่เกิดก็ไม่ได้รับการแก้ไข วงล้อของความเหลื่อมล้ำเหล่านั้นก็จะหมุนวนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้นใน 6 ประเด็นที่ผมได้กล่าวมา ทั้งคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมธรรมาภิบาลในระบบการศึกษา และการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ผมในฐานะนักเรียนเเละเคยเป็นประธานนักเรียนมาก่อน ผู้เห็นปัญหาจึงสะท้อนและแสดงความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการศึกษาไทยจะได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผู้เรียนได้รับประโยชน์ เป็นคนที่ ดี เก่ง และมีความสุข และเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อประเทศต่อไปครับ