การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) |
กระทู้ถามที่ 951/2556
| สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24/2554 |
วันที่เสนอ |
22 สิงหาคม 2556 |
สมัยคณะรัฐมนตรี |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม |
นายวัชระ เพชรทอง พรรคประชาธิปัตย์ แบบบัญชีรายชื่อ |
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายชัยเกษม นิติสิริ) |
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายชัยเกษม นิติสิริ) |
ประเภทกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา |
สถานภาพกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130
ตอนพิเศษ 119 ง หน้า 78 - 82 ลงวันที่ 16 กันยายน 2556
|
สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม |
เนื่องจากการเคลื่อนย้ายสินค้า ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) การปรับปรุงแก้ไขระเบียบ กฎหมาย ความตกลงที่เกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร เพื่อลดขั้นตอนพิธีการด้านศุลกากรอำนวยความสะดวกด้านการค้า สนับสนุนการขนส่งสินค้าข้ามชายแดน ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัด อุปสรรคของนักธุรกิจ นักลงทุนไทยในการแข่งขันกับนักธุรกิจ นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคนเข้าเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจลงตรา แก่นักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพ และแรงงานฝีมืออาเซียน ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
1. รัฐบาลจะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรวมถึงมีนโยบายที่จะเตรียมความพร้อมให้กับการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างไร หากรัฐบาลมีนโยบายและงบประมาณที่จะสนับสนุนเรื่องดังกล่าว ขอให้ดำเนินการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 หรือ 2558 จะได้หรือไม่
2. รัฐบาลจะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรวมถึงมีมาตรการใดที่จะสนับสนุนให้นักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพ และแรงงานฝีมือของประเทศไทยในการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนดังกล่าว อย่างไร ขอทราบรายละเอียด
|
สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม |
คำตอบข้อที่ 1 รัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555 เห็นชอบผลการประชุมบูรณาการยุทธศาสตร์ประเทศ (country strategy) และแผนปฏิบัติการการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นกรอบในการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2557 โดยมอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักในด้านการส่งเสริมการเข้าถึงระบบยุติธรรมของประชาชนและปฏิรูปกฎหมาย ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า การพัฒนากฎหมายตามยุทธศาสตร์ประเทศและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การปรับปรุงกฎหมายตามพันธกรณีของประชาคมอาเซียน แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายภายในที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่ออนุวัติการตามพันธกรณี แต่ควรมีการกำหนดนโยบายการเปิดการค้าเสรีที่ชัดเจนและอาจจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองเพิ่มเติม รวมถึงทบทวนกลไกตามกฎหมายที่เป็นระบบการควบคุมให้ปรับเปลี่ยนเป็นระบบกำกับดูแลหรือส่งเสริม
ส่วนที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย (Legal Infrastructure) เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุน และสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ โดยการพัฒนากฎหมายเพื่อลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางพาณิชย์ สร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมตลาดทุน
คำตอบข้อที่ 2 กระทรวงยุติธรรมมีแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยการพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ไว้ ดังนี้
1. ปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพทั้งทางแพ่ง – พาณิชย์และอาญา
2. สร้างเครือข่ายอาสาสมัครในการให้บริการประชาชนด้านกฎหมายจากทุกภาคส่วน
3. ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายไทยแก่ชาวต่างประเทศ
4. ส่งเสริม และสร้างความรู้ความเข้าใจหลักนิติรัฐ – นิติธรรม และสิทธิมนุษยชน ให้กับประชาชน
5. ส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายให้แก่ประชาชน
6. สร้างเครือข่ายอาสาสมัครในการให้บริการประชาชนด้านกฎหมายจากทุกภาคส่วน (Probono)
7. เสริมสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาองค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมอยู่ระหว่างการศึกษา/ยกร่าง ดังต่อไปนี้
1. การแก้ไขปัญหาการขัดกันของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน
2. การปรับปรุงกระบวนการระงับข้อพิพาททางพาณิชย์
3. การปรับปรุงกฎหมายล้มละลายตามรายงานมาตรฐานและกฎหมาย (Report on the Observance of Standards and Codes : ROSC)
4. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ว่าด้วยการบังคับคดี)
5. พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
6. การส่งเสริมสถาบันอนุญาโตตุลาการ ตามพระราชบัญญัติสถาบันอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2550
|
เอกสารต้นเรื่อง |
1. สรุปสาระสำคัญ 2. ต้นฉบับกระทูู้ถาม
|