ปัญหาสังคมและวัฒนธรรมกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) |
กระทู้ถามที่ 937/2556
| สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 24/2554 |
วันที่เสนอ |
22 สิงหาคม 2561 |
สมัยคณะรัฐมนตรี |
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ชื่อผู้ตั้งกระทู้ถาม |
นายวัชระ เพชรทอง พรรคประชาธิปัตย์ แบบบัญชีรายชื่อ |
ชื่อผู้ถูกตั้งกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายสนธยา คุณปลื้ม) |
ชื่อผู้ตอบกระทู้ถาม |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายสนธยา คุณปลื้ม) |
ประเภทกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในราชกิจจานุเบกษา |
สถานภาพกระทู้ถาม |
กระทู้ถามที่ตอบในที่ประชุม
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130
ตอนพิเศษ 115 ง หน้า 35 – 37 ลงวันที่ 9 กันยายน 2556
|
สรุปสาระสำคัญของกระทู้ถาม |
ด้านนโยบายและในการปฏิบัติการ รวมถึงความพร้อมในการเตรียมการณ์ที่อาจเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทยหากเกิดความผิดพลาดขึ้น และส่งผลกระทบต่อประชาชน ผู้ยากไร้ ที่อาจประสบปัญหาทั้งทางด้านหนี้สิน ที่ทำกิน และสังคมที่ล้มเหลว ดังนั้น ควรให้ประชาชนมีความรู้สึกอยู่รอดด้วยความสุขโดยประมาณ อยู่อย่างพอเพียง และมีความสุข ผู้ตั้งกระทู้ถามขอทราบว่า
1. กระทรวงวัฒนธรรมมีนโยบายที่จะเตรียมความพร้อมกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อสภาพเศรษฐกิจการค้าของไทย ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบต่อความเป็นอยู่ เกิดปัญหาสังคมอันจะนำไปสู่การก่ออาชญากรรม การหลอกลวงต้มตุ๋นจากมิจฉาชีพหรือไม่ อย่างไร และมีมาตรการเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้อย่างไร
2. กระทรวงวัฒนธรรมมีมาตรการที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีความเข้มแข็งทางด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อแก่มิจฉาชีพที่มาพร้อมกับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคมดังกล่าวอย่างไร หรือไม่ ขอทราบรายละเอียด
|
สรุปสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถาม |
คําตอบ กระทรวงวัฒนธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการดำเนินงานเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องบทบาทของวัฒนธรรม เพื่อการสร้างความเชื่อมโยงในอาเซียนและการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยการขับเคลื่อนสู่อาเซียนไปพร้อมกับการส่งเสริมอัตลักษณ์ไทยและการสร้างสำนึกร่วมของการเป็นประชาคมอาเซียนบนฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน การสร้างดุลยภาพระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึง
1. การสร้างเสริมศักยภาพ (capacity building) ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้เกิดความตระหนักรู้ และความเข้าใจในอัตลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของไทยและอาเซียน
2. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน (community engaging) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชนวัฒนธรรมในการสร้างประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน การส่งเสริมการสืบสานอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมทั้งเผยแพร่วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้มีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
3. การสร้างเครือข่ายทางวัฒนธรรม (networking) โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเครือข่ายศิลปินและชุมชนวัฒนธรรมในทุกระดับ รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือและการทำงานอย่างบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ดูแลงานด้านวัฒนธรรมอาเซียน
4. การสร้างความเชื่อมโยงในประชาคมอาเซียน (connectivity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคประชาชนผ่านการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ การตระหนักร่วม และความเข้าใจต่อมรดกร่วมทางวัฒนธรรมของอาเซียน
5. การสร้างสรรค์ (creativity) โดยเน้นการต่อยอดและสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งสมดุลระหว่างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
6. การสร้างประชาคมยั่งยืน (community sustainability) การสร้างความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านวัฒนธรรมของไทยให้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างความรู้ ความร่วมมือ และเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นให้มีความเข้าใจอันดีต่อกันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ก่อให้เกิดความร่วมมือในด้านสังคมและวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และความยั่งยืนของประชาคมอาเซียน การเชื่อมโยงกันระหว่างอาเซียนจะพิจารณาถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ตลอดจนการปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียมและสันติ โดยสังคมไทยก็ต้องได้รับความรู้ ข้อมูลและข่าวสารที่สร้างให้เกิดความเข้าใจและรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมด้วย
|
เอกสารต้นเรื่อง |
1. ต้นฉบับกระทู้ถาม 2. สรุปสาระสำคัญ
|