คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
  • ก.ร.
  • การบริหารราชการ
  • บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
  • ค่าตอบแทนข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  • การสรรหาข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  • การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  • การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจ
  • จริยธรรมและวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  • การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และการออกจากราชการ
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
  • การบริหารทรัพยากรบุคคล
  • การดำเนินการด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

ก.ร.

  ก.ร. ย่อมาจาก “คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา” ซึ่งมีกรรมการทั้งหมด 17 คน ดังนี้

  • กรรมการโดยตำแหน่ง 5 คน ได้แก่ ประธานรัฐสภา (เป็นประธาน) รองประธานรัฐสภา (เป็นรองประธาน) เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการสภา ผู้แทนราษฎร และเลขาธิการวุฒิสภา โดยให้ประธานรัฐสภาแต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภาคนใดคนหนึ่ง เป็นเลขานุการ ก.ร.
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาผู้แทนราษฎรเลือก 4 คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งวุฒิสภาเลือก 4 คน
  • กรรมการผู้แทนข้าราชการรัฐสภาสามัญ 4 คน ได้แก่ ข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเลือกกันเอง 2 คน และข้าราชการรัฐสภาสามัญในสังกัดสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเลือกกันเอง 2 คน

  โดย ก.ร. ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับข้าราชการรัฐสภาสามัญ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และทำหน้าที่กำหนดระเบียบรัฐสภาหรือประกาศรัฐสภาเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และการดำเนินการอื่นของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

การบริหารราชการ

  ส่วนราชการสังกัดรัฐสภาเป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนงานของฝ่ายนิติบัญญัติตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ. 2554 ปัจจุบันมีส่วนราชการสังกัดรัฐสภา 2 ส่วนราชการ ได้แก่

  • สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของสภาผู้แทนราษฎร มีเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของวุฒิสภา มีเลขาธิการวุฒิสภาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อประธานวุฒิสภา

  การประชุมในราชการฝ่ายรัฐสภา ได้แก่ คณะกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) คณะอนุกรรมการข้าราชการรัฐสภา (อ.ก.ร.) คณะกรรมการที่ ก.ร. แต่งตั้ง คณะทำงานของ อ.ก.ร. คณะกรรมการตามระเบียบรัฐสภาหรือประกาศรัฐสภาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา คณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา คณะอนุกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้ง คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการอื่น ๆ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในราชการฝ่ายรัฐสภา สามารถจัดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบ Cisco Webex ระบบ Zoom ระบบ Microsoft Teams ระบบ NT Conference โดยการจัดประชุมดังกล่าวมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกันการประชุมที่อยู่ในห้องประชุมเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบรัฐสภาว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563

บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

  ตามระเบียบรัฐสภาว่าด้วยการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา พ.ศ. 2554 กำหนดให้แต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงาน ดังนี้

  • สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ให้มีผู้ปฏิบัติงานประจำตัว ดังนี้
    • ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 อัตรา
    • ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 อัตรา
    • ผู้ช่วยดำเนินงาน 5 อัตรา

  • สำหรับประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้มีคณะทำงานทางการเมือง ดังนี้
    • ที่ปรึกษา
    • นักวิชาการ
    • เลขานุการ

  • สำหรับคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา ให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานประจำคณะกรรมาธิการ ดังนี้
    • ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
    • ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ
    • นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการ
    • เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

  ข้าราชการรัฐสภา เป็นข้าราชการพลเรือนประเภทหนึ่ง แยกต่างหากจากข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม โดยเป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และแบ่งข้าราชการรัฐสภาออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการประจำ เช่น ตำแหน่งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นิติกร วิทยากร เป็นต้น
  • ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ซึ่งเป็นตำแหน่งในทางการเมือง เช่น ตำแหน่งที่ปรึกษาประธานรัฐสภา โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เลขานุการประธานวุฒิสภา ผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น

1. ตำแหน่งประเภทบริหาร

   ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รองหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร

  • ระดับต้น
  • ระดับสูง
  • เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ

   ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการภายในระดับสำนัก ผู้อำนวยการกลุ่มงาน หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กำหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทบริหาร

  • ระดับต้น
  • ระดับสูง

ผู้อำนวยการระดับสำนัก

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ

  ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กําหนดให้เป็นตำแหน่งประเภทวิชาการ

  • ระดับปฏิบัติการ
  • ระดับชำนาญการ
  • ระดับชำนาญการพิเศษ
  • ระดับเชี่ยวชาญ
  • ระดับทรงคุณวุฒิ
  • นิติกร
  • วิทยากร
  • นิติกนักทรัพยากรบุคคลร
  • นักวิเทศสัมพันธ์

    ฯลฯ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป

  ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ แต่เป็นตำแหน่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานซึ่งเน้นการใช้ทักษะ ฝีมือในการปฏิบัติงาน โดยมีการจำแนกตามลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานเป็นหลัก และในกรณีที่เห็นสมควร ก.ร. จะกําหนดว่าตำแหน่งใดต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้นด้วยก็ได้ หรือตำแหน่งอื่นที่ ก.ร. กําหนดให้เป็นตำแหน่งประเภททั่วไป

  • ระดับปฏิบัติงาน
  • ระดับชำนาญงาน
  • ระดับอาวุโส
  • ระดับทักษะพิเศษ
  • เจ้าพนักงานธุรการ
  • เจ้าพนักงานพัสดุ
  • นายช่าง

    ฯลฯ

ค่าตอบแทนข้าราชการรัฐสภาสามัญ

  • เงินเดือน
  • เงินประจำตำแหน่ง
  • เงินค่าครองชีพชั่วคราว
  • เงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
  • เงินค่าตอบแทนพิเศษ
  • เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ

การสรรหาข้าราชการรัฐสภาสามัญ

  • สอบแข่งขัน โดยผู้มีสิทธิสอบต้องผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. และมีการสอบแข่งขันเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง
  • การคัดเลือก โดยปัจจุบันมีกรณีผู้ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงหรือทุนรัฐบาล กรณีผู้สำหรับการศึกษาในวุฒิที่ ก.ร. กำหนด เช่น ปริญญาเอก กรณีเป็นผู้สอบแข่งขันได้และไม่สามารถมารับการบรรจุได้เพราะอยู่ระหว่างรับราชการทหาร กรณีผู้ถูกยกเลิกการขึ้นบัญชีสอบแข่งขันโดยมารายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุได้แล้วแต่มีเหตุไม่อาจเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ตามกำหนดเวลาที่ทางราชการกำหนด กรณีผู้ผ่านโครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ของสำนักงาน ก.พ.ร. และกรณีคัดเลือกจากผู้สอบแข่งขันได้
  • การบรรจุบุคคลซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญสูง ในกรณีที่ส่วนราชการมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะบรรจุให้เข้ารับราชการในตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการขึ้น หรือประเภททั่วไประดับทักษะพิเศษ

การแต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญ

  การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการและเป็นข้าราชการที่ดี ข้าราชการรัฐสภาสามัญที่ต้องมีการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้แก่

  • ผู้ที่บรรจุและแต่งตั้งจากการสอบแข่งขันได้
  • ผู้ที่บรรจุและแต่งตั้งจากการคัดเลือกให้รับราชการ
  • ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งโอนมาบรรจุและแต่งตั้ง

  ระยะเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ กำหนดให้มีการประเมินอย่างน้อย 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อครบ 3 เดือนแรก และเมื่อครบ 6 เดือน ทั้งนี้ อาจมีการขยายระยะเวลาการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อีกไม่เกิน 3 เดือน

  การย้ายและโอน เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 ประกอบกฎ ก.ร. ว่าด้วยการย้าย การโอน หรือการเลื่อนข้าราชการรัฐสภาสามัญ พ.ศ. 2556 โดยสรุปดังนี้

สรุปหลักเกณฑ์การย้ายและโอน

การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจ

  การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการรัฐสภาสามัญ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการ มีหัวข้อการประเมิน ดังนี้

  • การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงาน (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70) โดยประเมินจากปริมาณผลงาน คุณภาพของงาน ความรวดเร็วหรือตรงตามเวลาที่กำหนด หรือความประหยัด หรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
  • พฤติกรรมการปฏิบัติราชการ โดยประเมินจากสมรรถนะหลักตามที่ ก.ร. กำหนด และสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการตามที่ส่วนราชการกำหนด
  • องค์ประกอบอื่น ๆ ก็ได้ตามที่ส่วนราชการเห็นว่าจำเป็น ตามความเหมาะสมกับลักษณะงานและสภาพการปฏิบัติราชการในตำแหน่งต่าง ๆ

  กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการและให้มีการเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการรัฐสภาสามัญ ปีละ 2 รอบ ตามปีงบประมาณ ดังนี้

  • รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม
  • รอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 กันยายน

จริยธรรมและวินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ

  เมื่อพบเห็นการกระทำผิดวินัยของข้าราชการรัฐสภาสามัญ และประสงค์จะกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้จัดทำเป็นหนังสือ โดยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ระบุชื่อของผู้กล่าวหา และลงลายมือชื่อผู้กล่าวหา
  • ระบุชื่อหรือตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา หรือข้อเท็จจริงที่เพียงพอให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหาข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้ใด
  • ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำที่มีการกล่าวหาเพียงพอที่จะเข้าใจได้ หรือแสดงพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสืบสวนสอบสวนต่อไปได้

  โดยช่องทางการกล่าวหา ถ้าเป็นการกล่าวหาหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ให้ส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา และหากเป็นการกล่าวหาบุคคลอื่น ให้ส่งไปยังหัวหน้าส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญผู้นั้นสังกัด

  ถ้าประสงค์จะกล่าวหาด้วยวาจา ให้ผู้บังคับบัญชาผู้ได้รับฟังการกล่าวหา จัดให้มีการทำบันทึกคำกล่าวหาที่มีรายละเอียดข้างต้น และให้ผู้กล่าวหาลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน

การอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และการออกจากราชการ

  การอุทธรณ์และร้องทุกข์ เป็นการโต้แย้งการดำเนินการของผู้บังคับบัญชาเช่นเดียวกัน

  โดยการอุทธรณ์ เป็นการโต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัยหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ

  ส่วนการร้องทุกข์ เป็นการโต้แย้งผู้บังคับบัญชาในกรณีใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อตนโดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือคับข้องใจอันเกิดจากการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาต่อตน

  การอุทธรณ์ ให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้อุทธรณ์ โดยใช้ถ้อยคำสุภาพและมีสาระสำคัญ ดังนี้

  • ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์
  • คำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ และวันที่รับทราบคำสั่ง
  • ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้อุทธรณ์ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้านคำสั่งที่เป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ รวมทั้งพยานหลักฐาน (ถ้ามี)
  • คำขอของผู้อุทธรณ์

  โดยให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งลงโทษหรือคำสั่งให้ออกจากราชการ ให้ยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้

  ทั้งนี้ ผู้อุทธรณ์จะขอแถลงการณ์ด้วยวาจา เพื่อประกอบการพิจารณาของ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อ อ.ก.ร. อุทธรณ์และร้องทุกข์ ก่อนการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จก็ได้

  การร้องทุกข์ ให้ทำเป็นหนังสือโดยใช้ถ้อยคำสุภาพและอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ ดังนี้

  • ชื่อ ตำแหน่ง สังกัด และที่อยู่สำหรับการติดต่อเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของผู้ร้องทุกข์
  • เหตุแห่งการร้องทุกข์
  • ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ผู้ร้องทุกข์เห็นว่าเป็นปัญหาของเรื่องร้องทุกข์
  • คำขอของผู้ร้องทุกข์

  โดยให้ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อ ก.ร. ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ ให้ยื่นที่สำนักงานเลขานุการ ก.ร. หรือจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้

  ทั้งนี้ ถ้าผู้ร้องทุกข์ประสงค์จะแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นการพิจารณาคำร้องทุกข์ ให้แสดงความประสงค์ไว้ในคำร้องทุกข์ด้วย หรือจะทำเป็นหนังสือต่างหากก็ได้ แต่ต้องยื่นหรือส่งหนังสือก่อนเริ่มการพิจารณาคำร้องทุกข์

การประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ

วัตถุประสงค์และแนวคิดของการประเมินองค์กรของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

  วัตถุประสงค์

  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร
  • เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ข้าราชการสามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ
  • เพื่อนำผลการปฏิบัติงานมาจัดสรรรางวัล/สิ่งจูงใจได้อย่างเหมาะสม

  แนวคิด

    การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นปีที่ 18 โดยที่ผ่านมาส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ได้ดำเนินการจัดทำกรอบการประเมินผลฯ โดยยึดหลัก Balanced Scorecard โดยแบ่งออกเป็น 4 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 : มิติด้านประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ และมิติที่ 4 : มิติด้านการพัฒนาองค์กร โดยแต่ละมิติจะประกอบด้วยตัวชี้วัดเพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุตามเป้าหมายหรือเกณฑ์การให้คะแนนที่กำหนด

    สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้เป็นการประยุกต์ใช้กรอบการประเมินผลเป็นไปในทิศทางเดียวกับส่วนราชการฝ่ายบริหาร คณะกรรมการพิจารณากำหนดกรอบตัวชี้วัด น้ำหนัก เป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้กำหนดกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่

     องค์ประกอบที่ 1 การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base)

     องค์ประกอบที่ 2 การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential Base)

วัตถุประสงค์และแนวคิดของการประเมินองค์กรของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
หลักเกณฑ์การมอบรางวัลให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติราชการดีเด่นตามตัวชี้วัด และหน่วยงานที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน ผลการปฏิบัติราชการดีเด่นของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

การบริหารทรัพยากรบุคคล

หลักเกณฑ์การมอบรางวัลให้ส่วนราชการสังกัดรัฐสภา หน่วยงานที่มีผลการปฏิบัติราชการดีเด่นตามตัวชี้วัด และหน่วยงานที่ให้การส่งเสริม สนับสนุน ผลการปฏิบัติราชการดีเด่นของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

  มี 4 ระบบ ประกอบด้วย

  • แผนสืบทอดตำแหน่ง
  • แผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ
  • การหมุนเวียนงาน
  • ระบบข้าราชการผู้มีศักยภาพสูง

การดำเนินการด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา

  ความหมายของ ITA (Integrity and Transparency Assessment : ITA) การประเมินคุณธรรมและความ โปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐเป็นเครื่องมือการประเมินเชิงบวกเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการ ทุจริต และเป็นกลไกในการสร้างความตระหนักให้หน่วยงานภาครัฐมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและมีคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด ดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่
  • ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ
  • ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ
  • ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ
  • ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต
  • ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน
  • ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร
  • ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน
  • ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
  • ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต

  ดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมในองค์กร และเป็นองค์กรที่มีส่วนร่วมสร้างสังคมคุณธรรม โดยมีการบริหารจัดการองค์กรตามหลักคุณธรรม ธรรมาภิบาล หรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีส่งเสริม สนับสนุนให้สมาชิกในองค์กรยึดมั่นคุณธรรมเป็นฐานในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงาน และมีส่วนร่วมรณรงค์ ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายขององค์กรคุณธรรม ซึ่งหมายรวมทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ เอกชน องค์กรภาคประชาสังคม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • องค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัด ทุกจังหวัด อาทิ หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาครัฐ

    (สังกัดส่วนภูมิภาคและสังกัดส่วนกลาง ที่มีที่ทำการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด) องค์กรภาคธุรกิจ เอกชน สมาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน สถานีตำรวจ โรงพยาบาล โรงงาน ฯลฯ (ยกเว้นอำเภอ ซึ่งอยู่ในส่วนของอำเภอคุณธรรมแล้ว)

  • องค์กรที่ตั้งอยู่ในส่วนกลาง (พื้นที่กรุงเทพมหานคร) อาทิ ส่วนราชการที่ไม่ต่ำกว่าหน่วยงานในระดับสำนัก กอง ศูนย์ เขต องค์กรภาคธุรกิจ เอกชน สมาคม ฯลฯ ระดับการประเมินตามตัวชี้วัด

    องค์กรคุณธรรม มีการประเมินตามตัวชี้วัด 9 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

    • ระดับที่ 1 ระดับส่งเสริมคุณธรรม
      • ขั้นตอนที่ 1 ประกาศกฎกติกา/ข้อตกลง/ธรรมนูญร่วมกัน
      • ขั้นตอนที่ 2 กำหนดคุณธรรมเป้าหมาย ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ
      • ขั้นตอนที่ 3 จัดทำแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม

          (ต้องมีการดำเนินการทุกข้อ และมีคะแนนรวมไม่น้อยกว่า 3 คะแนน)

    • ระดับที่ 2 ระดับคุณธรรม
      • ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลจากการดำเนินงานตามแผน
      • ขั้นตอนที่ 5 ประชุมทบทวน/ปรับปรุงแผน
      • ขั้นตอนที่ 6 ประกาศยกย่อง/เชิดชูบุคคลที่ทำดีหรือบุคคลผู้มีคุณธรรม

          (ต้องดำเนินงานทุกข้อในระดับที่ 1 และระดับที่ 2 และมีคะแนนรวมน้อยกว่า 6 คะแนน)

    • ระดับที่ 3 ระดับคุณธรรมต้นแบบ
      • ขั้นตอนที่ 7 ประเมินความสำเร็จตามแผนพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม
      • ขั้นตอนที่ 8 ร่วมกันพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมเพิ่มเติมใน 3 มิติ มิติศาสนา มิติเศรษฐกิจพอเพียง และมิติวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม
      • ขั้นตอนที่ 9 มีองค์ความรู้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ สามารถถ่ายทอดได้

          (ต้องมีการดำเนินงานทุกข้อในระดับที่ 1 ระดับที่ 2 และระดับที่ 3 และมีคะแนนไม่น้อยกว่า 9 คะแนน)

○ การงบประมาณ
○ การเบิกจ่ายเงิน
○ การรักษาราชการแทน การปฏิบัติราชการแทน และการรักษาการในตำแหน่ง
○ ก.ร. และ อ.ก.ร.
○ การประชุมกรรมการและเบี้ยประชุม
○ มาตรการเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
○ การบริหารราชการอื่น
○ วันเวลาทำงานและการลาหยุดราชการ
○ เครื่องแบบและการแต่งกาย
○ การแต่งตั้งบุคคลในวงงานรัฐสภา
○ ลูกจ้างประจำ
○ พนักงานราชการรัฐสภา
○ การรวมกลุ่มของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
○ โครงสร้างและระบบงาน
○ การจัดตำแหน่ง
○ การเทียบตำแหน่ง
○ อัตรากำลัง การสับเปลี่ยนและ โอนอัตราเงินเดือน
○ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
○ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชา
○ มาตรฐาน และแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็น
○ การรับรองคุณวุฒิ
○ นักกฎหมายนิติบัญญัติ
○ ค่าตอบแทน
○ การสรรหาเชิงรุก
○ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของข้าราชการรัฐสภาสามัญ
○ การสรรหาและการบรรจุ
○ การแต่งตั้ง
○ การทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ
○ การย้าย การโอน การเลื่อน
○ การบรรจุกลับ
○ การต่ออายุราชการ
○ การประเมินข้าราชการ
○ การเลื่อนเงินเดือน
○ การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงในแก่ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
○ การศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน
○ การเสริมสร้างและพัฒนามิให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชากระทำผิดวินัย
○ จริยธรรมข้าราชการรัฐสภา
○ วินัยข้าราชการรัฐสภาสามัญ
○ มาตรฐานการลงโทษ
○ การดำเนินการทางวินัย
○ ข้อสังเกตจากรายงานการดำเนินการทางวินัย
○ การอุทธรณ์
○ การร้องทุกข์
○ การออกจากราชการ
○ การดำเนินคดีต่าง ๆ
○ การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
○ การดำเนินการเกี่ยวกับความโปร่งใสของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
○ ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล